การดูแลแก่นตะวัน

จากการทดลองปลูก แก่นตะวันเป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี เพราะจะลงหัวได้ง่าย หากมีน้ำขังแฉะจะทำให้หัวเน่า การปลูกสามารถปลูกได้ในฤดูฝน ในพื้นที่ไร่เหมือนกับพืชไร่ทั่วไป การปลูกในฤดูแล้งต้องมีระบบน้ำชลประทาน เช่น การปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาดินร่วนทรายเขตชลประทาน การปลูกโดยใช้หัวปลูกต้องตัดหัวให้เป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละประมาณ 2- 3 เซนติเมตร บ่มหัวที่หั่นแล้วในถังมีความชื้น  จะกระตุ้นให้เกิดต้นอ่อนบนหัวท่อนพันธุ์ แล้วจึงนำไปปลูก


การปลูกในฤดูฝนต้องใช้ระยะปลูกห่าง ประมาณ 70 x 50 เซ็นติเมตร แต่ฤดูแล้งอาจ จะใช้ระยะปลูกแคบขึ้น เนื่องจากจะมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าฤดูฝน 50 x 30 เซนติเมตร


การปลูกจากหัวที่มีต้นอ่อน ดินต้องมีความชื้นดีมาก หลังปลูกดายหญ้ากำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง ตามความจำเป็น


การใส่ปุ๋ย  ใส่ปุ๋ยพืชไร่ สูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อมีอายุ 20-30 วันหลังปลูก ปัจจุบันยังไม่พบโรค และแมลงที่สำคัญของพืชนี้


พืชนี้จะออกดอกสีเหลืองอร่ามเต็มทุ่งจนอาจขนานนามว่า
“ทุ่งแก่นตะวันบาน” นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีไม่แพ้ทุ่งทานตะวันเลยทีเดียว
 แต่การปลูกในฤดูหนาวราวเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม อาจไม่มีดอก
ถ้าปลูกในฤดูฝน พืชนี้จะเก็บเกี่ยวหัวเมื่ออายุประมาณ120-140 วัน
และสำหรับการปลูกในฤดูแล้งเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ100-110 วัน
โดยสังเกตพบว่า หัวขยายเต็มที่ ใช้วิธีขุด หรือถอนเก็บเกี่ยวหัว
เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปมีศักยภาพในการให้ผลผลิต สูง
โดยพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดให้ผลผลิต 2.5-2.8 ตันต่อไร่ ใช้เวลาปลูกเพียง 4 เดือน
หากเปรียบเทียบกับมันสำปะหลังที่ให้ผลผลิตระดับเท่านี้ต้องให้เวลาการผลิต 10-12 เดือน